โรคไต (ตอนที่ 1 )
ไต เป็นอวัยวะที่เราทราบกันดีว่ามีหน้าที่กรองของเสียออกจากร่างกาย แต่ยังมีหน้าที่มากกว่านั้น
1. ควบคุมปริมาณ น้ำ และเกลือแร่ ส่วนเกินออกจากเลือด เช่น โซเดียม โปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แคลเซียม และภาวะความเป็นกรด/ด่าง ในเลือด ให้สมดุลกับความจำเป็นของร่างกาย
2. ผลิตและควบคุมการทำงานของฮอร์โมน ฮอร์โมนควบคุมแคลเซียม ฮอร์โมนกระตุ้นสร้างเม็ดเลือดแดง หากไตมีความบกพร่องมากๆเข้าอาจเป็นโรคโลหิตจาง กระดูกพรุนหรือผุ เป็นต้น ฮอร์โมนที่ไต
ผลิตได้แก่
· VITAMIN D สร้างกระดูก
· ERYTHROPOITEIN สร้างไขกระดูก,สร้างเม็ดเลือดแดง
· RENIN ควบคุมความดันโลหิต
3. ขับของเสียประเภทโปรตีน (เนื้อสัตว์/ถั่วต่างๆ) เป็นยูเรียครีเอตินีน กรดยูริค ถ้าของเสียพวกนี้คั่งอยู่ในเลือดมากๆเรียกว่า ยูรีเมีย
โรคไตวายเรื้อรัง เกิดจากอะไร
1.โรคเบาหวาน และ ความดันโลหิตสูง (สาเหตุหลักถึง 80% ที่ทำให้เกิดไตวาย)
2.นิ่วในไตและระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง
3.ไตอักเสบ (กรวยไต,หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไต,ถุงน้ำในไต)
4. โรค SLE (ภูมิแพ้ทำลายตนเอง)
5.กินยาหลายชนิดต่อเนื่องนานๆ
ไตเป็นอวัยวะที่พิเศษมาก แม้มีปัญหาก็ยังไม่แสดงอาการความผิดปกติใดๆ จนกระทั่งสูญเสียการทำงานมากกว่า 80% ขึ้นไปจึงแสดงอาการให้รับรู้ว่าเข้าสู่ภาวะไตวายขั้นสุดท้าย ถ้าถึงขั้นนี้เป็นภาวะที่ไม่อาจฟื้นฟูไตได้เป็นปกติ นอกจากจะเปลี่ยนไตใหม่เท่านั้น จึงเป็นเรื่องที่น่ากลัวมากของผู้เป็นโรคนี้ เพราะกว่าจะรู้ตัวก็เมื่อสายไปเสียแล้วไตทำงานได้ไม่ถึง 20% ภาวะตรงนี้จะมีของเสียและน้ำ ส่วนเกินในร่างกายมาก ต้องแก้ไขด้วยการฟอกไต หากไม่ฟอกไตหรือฟอกเลือดก็จะถึงแก่ชีวิตด้วยอาการไตวายเรื้อรัง
ก่อนที่จะถึงภาวะไตวายเรื้อรัง เราจะมีวิธีการดูแลสุขภาพได้อย่างไรไม่ให้เกิดโรคนี้กับเรา จริงๆแล้วโรคไตที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดอยู่ที่การดูแลตัวเองโดยเข้าใจเรื่องอาหาร ไม่ตามใจปากตัวเองจนเกินไปรู้จักเลือกอาหารที่ไม่ทำให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อโรคไต ในหนังสือเล่มนี้เขียนตามความเข้าใจของผู้ที่ต้องการรู้เรื่องไต(ยังไม่เป็นโรคไต) เป็นไตวายแล้วแต่ยังไม่ฟอกไต และเป็นไตวายเรื้อรังอยู่ระหว่างฟอกไต
อาหารชะลอไตวาย
1.สำหรับคนปกติ
อาหารควรงดหรือหลีกเลี่ยง
- ไม่ทานของเค็มจัดหรือโซเดียมสูงๆทำให้ความดันเลือดสูงไตเสื่อมเร็ว(ดูรายละเอียดโซเดียมแฝง)
- ไม่ทานของหวานจัดๆทำให้ตับอ่อนทำงานหนัก สาเหตุโรคเบาหวาน
- ไม่ทานแป้งขาวมากไป เช่น ขนมต่างๆ เบเกอรรี่ ซาลาเปา ฯลฯ ร่างกายจะเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล สาเหตุโรคเบาหวาน
- เลี่ยงอาหารทอด ผัด ปิ้ง ย่าง เพราะต้องใช้อุณหภูมิสูงมีไขมันสูงซึ่งทำให้เกิดอนุมูลอิสระมีพิษร้ายแรงมากมาย ทำลายเยื้อหุ้มเซลล์ทำให้เซลล์อักเสบกลายพันธุ์เป็นมะเร็งได้
- ไม่ทานโปรตีนจากสัตว์มากไปเพราะระบบการย่อยของร่างกายทำงานหนัก ของเสียที่เกิดในลำไส้จะถูกดูดกลับเข้ากระแสเลือด ไตจะต้องทำงานหนักปริมาณโปรตีนที่ควรทานต่อคน 1 กรัมต่อน้ำหนักตัวต่อวัน
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ใช้วัตถุกันเสีย,ผงชูรส,เคมีที่ใช้อาหาร
- เลิกบุหรี่หรือยาสูบทุกชนิด
- การทานยาต่อเนื่องนานๆ
- หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
อาหารที่ควรทาน
- ผักสด-ผลไม้สด มีเอนไซม์เพิ่มพลังชีวิต
- เน้นอาหารธรรมชาติ RAW FOOD , SLOW FOOD ผ่านการปรุงแต่งให้น้อยที่สุด
- การดื่มน้ำให้ถูกต้องและเพียงพอสำหรับร่างกายในการกำจัดของเสีย
- กรดไขมันโอเมก้า 3 (น้ำมันงาขี้ม่อน , น้ำมันปลา)
- น้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันสายกลางช่วยดูแลไต
- น้ำกระเจี๊ยบ , ใบบัวบก , เก๊กฮวย , หญ้าหนวดแมว ไม่หวานหรือหวานน้อยช่วยขับปัสสาวะ เพิ่มความเป็นด่างในกระแสเลือด
2.สำหรับคนเป็นไตวายเรื้อรังแต่ยังไม่ฟอกไต
อาหารควรงดหรือหลีกเลี่ยง
- เป็นอาหารเหมือนกับคนปกติ ในหัวข้อข้างต้นยังต้องควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือดและ
ความดันโลหิตสูงอย่างเคร่งครัด ต้องกินยาและอาหารที่สมดุลเพื่อชะลอการเสื่อมของไตด้วย โดยยึดหลักให้ไตทำงานน้อยลงทานอาหารให้เพียงพอกับร่างกายในแต่ละวันเท่านั้น
- งดอาหารเค็มจัดโดยเด็ดขาด เพราะโซเดียมสูงทำให้ความดันสูง ทำให้ไตเสื่อมเร็วมากขึ้น
น้ำคั่งเกิดอาการในร่างกาย
- กินอาหารโปรตีนต่ำ (การย่อยโปรตีนจะได้ของเสียคือยูเรีย) ถ้าโปรตีนสูงไตจะต้องทำงานหนัก
เสื่อมเร็วเกิดโปรตีนรั่วทางปัสสาวะมากๆนานๆ
- ไขมันสัตว์,เนื้อสัตว์ ทำให้คอลเลสเตอรอลสูง สาเหตุหลอดเลือดเสื่อมลง
- งดอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง ทำให้ไตทำงานหนักในการกรองและขับออกทางปัสสาวะ และ
ยังไปกดการทำงานของหัวใจทำงานหนักไป
- งดอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เพราะถ้ามีฟอสฟอรัสสูงเกินไปจะทำให้แคลเซียมในเนื้อกระดูก
ถูกขับออก เพื่อไปสลายฟอสฟอรัส เกิดภาวะกระดูกเปราะแตกหักง่าย,กระดูกพรุน
· อาหารที่มีโปแตสเซียมสูงได้แก่
ฟักทอง ถั่วเมล็ดแห้ง ทุเรียน ลำไย กล้วย มะม่วงสุก ฯลฯ
· อาหารที่มีโปแตสเซียมกลางได้แก่
ผักบุ้งจีน พริกฝรั่ง มะละกอดิบ พริกหยวก คะน้า ถั่วลันเตาฯลฯ
· อาหารที่มีโปแตสเซียมต่ำ ได้แก่
น้ำเต้า บวม ฝักเขียว แตงกวา มะเขือยาว ถั่วฟักยาวฯลฯ
· อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง ได้แก่
น้ำอัดลม เบียร์ กาแฟ เนยแข็ง ชีสซ็อกโกแลตไอศครีม ไข่แดง เนื้อติดกระดูก
อาหารที่ควรทานสำหรับคนยังไม่ฟอกไต
เป็นอาหารเช่นเดียวกับหัวข้อข้างต้น (สำหรับคนปกติ) แต่เพิ่มข้อระมัดระวังในการกินต้องมีความเข้มงวดมากขึ้น เพราะระบบไตของร่างกายสูญเสียความสามารถในการทำงานขับของเสียออกจากร่างกาย ของเสียที่ยังอยู่ไม่สามารถขับออกได้หมดเวียนอยู่ในกระแสเลือด กลายเป็นพิษเกิดอนุมูลอิสระในร่างกาย เพราะฉะนั้นการดูแลไตวายเรื้อรังแต่ยังไม่ฟอกไต ต้องให้ความสำคัญต่ออาหารอย่างยิ่งยวด ก่อนที่จะพาตัวเองไปฟอกไต นั้นคือภาวะที่หนักกว่าที่เป็นอยู่อีก และต้องหมั่นตรวจเช็คค่าของไตสม่ำเสมอ
- แป้งที่ทานได้ ควรเป็นแป้งไม่มีโปรตีน เช่น วุ้นเส้น ซาหริม สาคู ลอดช่อง
เส้นก๋วยเต๋ยวเซี่ยงไฮ้ แป้งข้าวโพด แป้งมัน
- โปรตีนจากไข่ขาว
3.สำหรับคนเป็นไตวายเรื้อรังต้องฟอกไต(ฟอกเลือด)
ภาวะตรงนี้ไตสูญเสียการทำงานประมาณ 80-85% ขึ้นไปเรียกภาวะนี้ว่าไตวายขั้นสุดท้าย เพราะไม่ได้รับการดูแลอย่างเพียงพอและทันเวลา อาการที่เกิดขึ้นจะมีการคั่งของน้ำและของเสียในร่างกายที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ หากไม่ได้รับการฟอกไตเอาน้ำและของเสียออกทันที จะเกิดภาวะความดันโลหิตสูง น้ำท่วมปอด หัวใจวาย และเสียชีวิตได้
ไตวายขั้นสุดท้ายนี้ ผู้ป่วยไม่มีทางเลือกใดๆเลยนอกจาก 3 วิธีนี้เท่านั้น
1. ผ่าตัดเปลี่ยนไต ต้องหาญาติของผู้ป่วยหรือผู้บริจาค ซึ่งเป็นกรณีที่ยากและยังต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง
2. การล้างช่องท้อง ใช้น้ำยาล้างของเสียผ่านเมมเบรน ต้องเปลี่ยนน้ำยาบ่อยๆและล้างทุกวัน สามารถทำเองที่บ้าน
3. การฟอกเลือดด้วยเครื่อง ต้องทำที่คลีนิคหรือโรงพยาบาลอาทิตย์ละ 3 ครั้ง แล้วแต่อาการ ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยไตวายจะใช้วิธีนี้ การฟอกเลือดจะดึงน้ำส่วนเกินและของเสียออกจากร่างกาย ถ้าดึงออกมามากๆจะรู้สึกเพลีย
อาหารควรงดหรือหลีกเลี่ยง
เป็นความลำบากหรือสาหัสมากในการดูแลหรือกินในแต่ละครั้ง ต้องควบคุม เช่น การดื่มน้ำ น้ำในที่นี้ไม่ใช่น้ำดื่มเท่านั้น แต่รวมถึงน้ำที่มีอยู่ในอาหารทุกชนิดที่ผู้ป่วยกิน ต้องดื่มน้ำแต่ละวันตามหมอสั่งเท่านั้นไม่สามารถดื่มตามปกติได้ เช่นลดความกระหายน้ำโดยการอมน้ำแข็ง และยังต้องหมั่นชั่งน้ำหนักตัวอยู่เสมอว่า ก่อนฟอกเลือดเท่าไร หลังฟอกเลือดน้ำหนักเท่าไร เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการฟอกเลือดครั้งต่อไป
อาหารควรงดหรือหลีกเลี่ยงหมือนกับหัวข้อข้างต้น ของคนปกติและไตวายเรื้อรังแบบไม่ฟอกไต แต่ให้ความสำคัญมากขึ้นไปอีกในการกินแต่ละครั้งเช่น
- อาหารที่มีโปแตสเซียมสูงจะกดดันการทำงานของหัวใจ,โซเดียมสูงจะเกิดน้ำคั่งในร่างกาย เกิดภาวะบวมน้ำ ความดันเลือดสูง น้ำท่วมปอด
- ฟอสฟอรัสสูงจะไปสลายเนื้อกระดูก เปราะแตกหักง่าย
- น้ำตาลสูงจะกระทบต่อหลอดเลือดในหน่วยกรองของไตสูญเสียการทำงานต่ำไปเรื่อยๆและยังทำให้เกิดภาวะความเป็นกรดสูงในเลือด
อาหารที่ควรทานสำหรับคนที่ฟอกไตแล้ว
ผู้ป่วยที่ฟอกไต(เลือด)เป็นประจำ สารอาหารต่างๆมีความจำเป็นโดยเฉพาะโปรตีน เพื่อนำไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย แต่โปรตีนที่ได้รับต้องเป็นโปรตีนคุณภาพสูงเท่านั้น เพราะโปรตีนที่ย่อยสลายเป็นสารอาหารแล้วจะมีส่วนที่เหลือเป็นของเสียคือกรดยูเรีย จึงต้องได้โปรตีนที่ดีมีคุณภาพสูงให้เพียงพอ ซึ่งจะตรงข้ามกับกรณีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังแต่ยังไม่ฟอกไต ที่หลีกเลี่ยงโปรตีน เพราะจะเป็นภาระแก่ไต