โรคความดันโลหิตสูง


 จากสถิติในประเทศไทย ปี 2555 คนไทยเสียชีวิตจากโรคนี้เป็นอันดับ 2 โรคนี้ส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุ โรคหลอดเลือด-แดงแข็ง  คอเลสเตอรอลสูง ไตรกลีเซอไรด์สูง และโรคไต โรคความดันโลหิตสูงยังเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ               โรคอัมพฤกษ์-อัมพาต  โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิต เนื่องจากไม่มีอาการเตือน เราจะทราบว่าเป็นหรือไม่ต้อง วัดค่าความดันโลหิตในช่วงเวลาพักผ่อน

            ค่าความดันโลหิต คนปกติจะมีค่าไม่เกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอท

            ความดันตัวบน     ค่าอยู่ที่                   100-140    มิลลิเมตรปรอท (ซิสโทลิก)

            ความดันตัวล่าง     ค่าอยู่ที่                     60-90      มิลลิเมตรปรอท (ไดแอสโทลิก)

            ถ้าค่าความดันโลหิตเกิน 140 และ 90 จัดว่าความดันโลหิตสูง

อาการ   ผู้มีความดันโลหิตสูงมักจะมีอาการปวดศีรษะ ปวดมึนงง ปวดมากเวลาถ่ายอุจจาระ เหนื่อยง่าย ถ้าเป็นมากจะคลื่นไส้  อาเจียน เลือดกำเดาไหล ตามัว แน่นหน้าอก หายใจหอบ

                        การรักษาปัจจุบัน แพทย์จะจ่ายยาลดความดันโลหิตให้แก่คนไข้ และต้องกินยาลดความดันไปตลอด บางครั้งต้องเพิ่มปริมาณยามากขึ้นถึงจะลดความดันโลหิตสูงได้ การใช้ยาในการลดความดันโลหิตสูงมีผลข้างเคียงมากมาย เช่น ผลทำลายตับ ไต ต่อมหมวกไต และเสื่อมสมรรถนะทางเพศ ถึงขึ้นร้ายแรงคือฟอกไต

            ก่อนอื่นต้องหาสาเหตุให้พบว่าไตมีปัญหาหรือไม่ หรือเกิดจากเบาหวาน การลดความอ้วน เครียด หลอดเลือดอุดตัน คอเลสเตอรอลสูง ไตรกลีเซอไรด์สูง หรือป่วยเป็นโรคหัวใจ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ต้องรีบแก้ไขโดยด่วน

            ผู้ป่วยเคยตั้งคำถามๆ ตัวเองหรือไม่กินยามากี่ปี เพิ่มปริมาณยาไหม? เพิ่มตัวยาอื่นอีกหรือไม่ ร่างกายเป็นอย่างไร แล้วต้องกินยาไปตลอดหรือไม่ ทราบหรือไม่จะมีผลข้างเคียงตามมาอย่างไร แท้จริงแล้วการกินยาโดยไม่แก้ไขปรับเปลี่ยนอาหารการกิน และความเคยชินในชีวิตประจำวัน ก็ไม่สามารถแก้ไขโรคความดันโลหิตสูงนี้ได้ การใช้หลักผสมผสานโดยการใช้ยากับหลักโภชนาการ น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด แล้วค่อยๆ เลิกการใช้ยาได้เอง

 

อาหารที่ควรงดเว้นหรือหลีกเลี่ยง

-               ลดเกลือ (โซเดียม) เพราะโซเดียมทำหน้าที่ควบคุมการกระจายตัวของน้ำในส่วนต่างๆ ของร่างกาย และหากมีโซเดียมมากเกินไปจะทำให้เซลล์เกิดการบวมน้ำ หรืออาการบวมของเซลล์ โดยเฉพาะไตจะต้องทำงานหนักมาก ที่จะขับน้ำส่วนเกินออกไป แล้วยังมีโซเดียมแฝง เช่น โมโนโซเดียมกลูตาเมต (ผงชูรส) โซเดียมไบคาบอเนท (ผงฟู) เครื่องปรุงรสแต่งอาหาร ซีอิ๊ว น้ำปลา ฯลฯ ล้วนมีโซเดียมสูง

-               ลดน้ำตาล เพราะทำให้เลือดเป็นกรด และเลือดข้น ไปที่ส่วนไหนของร่างกายจะเกิดการอักเสบบวมไต หลอดเลือดอุดตันได้

-               การปิ้ง ทอด ย่าง การผ่านความร้อนสูงเกิดอนุมูลอิสระในอาหารทั้งไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต

-               แป้งขัดขาวในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ซาลาเปา ปาท่องโก๋ เบเกอรี่ คุกกี้ เค้ก ฯลฯ จะใช้ไขมันไม่ดี เช่น เนยขาว ครีมเทียม เนยเทียม มาการีน สาเหตุของหลอดเลือดอุดตัน ถ้ากินควรเพียงอาทิตย์ละไม่เกิน 2 ครั้ง ๆ ละน้อยๆ

-               ถั่วลิสงและมะม่วงหิมพานต์ ถั่วพิตาชิโอ จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงอย่างรวดเร็ว และไม่ลดลงหรือลงยาก

-               เนื้อสัตว์ ยกเว้นเนื้อปลา แต่ให้กินได้วันละไม่เกิน 100 กรัม ก็พอ

-               น้ำมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (โอเมก้า 6) มีอยู่ในน้ำมันทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด ทำให้เกิดความไม่สมดุลของโอเมก้า 3: โอเมก้า 6 เกิดการอักเสบในระดับเซลล์

 

อาหารจานโปรด

-               เซอราลี่ (คื่นช่ายยักษ์) 1 ต้น (ซอยเป็นแว่นเล็กๆ)

-               มะเขือเทศ                   5 ลูก (ฝานครึ่งลูก)

-               หอมหัวใหญ่               1 หัว (ฝานบางๆ )

-               ปลากระป๋อง               1 กระป๋อง

-               พริก                            2 เม็ด (ซอย)

-               มะนาว                        1 ลูก (บีบน้ำ)

นำยำคลุกเคล้ารวมกัน ทานกับข้าวกล้องหรือกับสลัดผักก็ได้

เซอราลี่ มีฤทธิ์ลดความดันโลหิตสูงดีที่สุด

มะเขือเทศ,หอมหัวใหญ่ มีสารต้านทานอนุมูลอิสระได้ดี


Copyright © 2012 Thai-Bio.com, All rights reserved. Designed by Friendly6design