เกิดจากกระบวนการแก่ตัวตามธรรมชาติหรือความเสื่อมของร่างกาย “ลีโอนาโด ดาวินชี” นักวิทยาศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศส ได้ศึกษาหลักกายวิภาค (ANATOMY) ของเด็กและคนชรา โดยผ่าศพดูหลอดเลือดแดงของเด็กจะมีความยืดหยุ่น อ่อนนุ่ม รูกว้าง ในขณะของคนชราหลอดเลือดแดงสูญเสียความยืดหยุ่น ความอ่อนตัว และรูแคบตีบ แต่สาเหตุของหลอดเลือดแข็งตัวจากความชราไม่ได้เป็นตัวก่อโรค การอักเสบของหลอดเลือดแดงต่างหากเป็นตัวก่อโรค โดยถือสมมุติฐานคอเลสเตอรอลเป็นหลักของต้นเหตุแห่งการอักเสบ
ปัจจัยที่ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว
- เบาหวาน (น้ำตาลในเลือดสูง, อินซูลินสูง)
- โรคอ้วน (LDL ไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอลสูง)
- การติดเชื้อ
- ความดันโลหิตสูง
- ยาต่างๆ และสารเคมีสังเคราะห์
- การสูบบุหรี่
- แอลกอฮอล์
- ความเครียด (อะดีนาลิน/คอร์ติซอล)
- พันธุกรรม
- ขาดสารต้านทานอนุมูลอิสระ ทำให้มีอนุมูลอิสระสูง
- ขาดกรดไขมันโอเมก้า 3 (น้ำมันปลา น้ำมันงาขี้ม้อน)
- โฮโมซิสเตอีนสูง (ขาดวิตามินบี 6 บี12 และกรดโฟลิก)
- ขาดวิตามิน C และแต่ธาตุต่างๆ
- ยังมีปัจจัยอื่นๆ
การอักเสบของหลอดเลือดแดงแข็งตัว ที่ถือสมมุติฐานคอเลสเตอรอลเป็นต้นเหตุของการอักเสบ เรามาทำความเข้าใจเรื่องคอเลสเตอรอลก่อน
- คอเลสเตอรอล 80% ร่างกายผลิตขึ้นเองโดยตับ
คอเลสเตอรอล 20% ได้จากอาหาร
- การกินหวานจัดอินซูลินจากตับอ่อน จะเข้าไปทำหน้าที่ผลิตคอเลสเตอรอลจากตับเพี้ยนไป โดยจะผลิตคอเลสเตอรอลออกมามากเกินไป และความหวานจัดยังทำให้น้ำตาลในเลือดสูงไปทำปฏิกิริยา OXIDEZE กับ LDL ทำให้ LDL สูง เกิดการอักเสบในหลอดเลือด และยังมีผลทำให้ค่าไตรกลีเซอร์ไรค์สูงด้วย
- นอกจากอาหารหวานแล้ว อาหารจำพวกแป้งขัดขาว จะมีคาร์โบไฮเดรดเชิงเดี่ยวสูงก็มีผลเช่นเดียวกัน คือทำให้คอเลสเตอรอลสูง LDL สูง ไตรกลีเซอร์ไรด์สูง HDL ต่ำ และน้ำตาลในเลือดสูง ผลทำให้เกิดการอักเสบในหลอดเลือด
- น้ำมันพืชไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (OMEGA 6) เช่นน้ำมันถั่วเหลือง ทานตะวัน ข้าวโพด ดอกคำฝอย ที่ใช้ประกอบอาหาร ทำให้คอลเรสเตอรอลลด แต่ทำให้ไขมันตัวดี HDL ลดตามไปด้วย ใช้มากในระยะยาวจะไปกดภูมิคุ้มกัน เกินนิ่วไตในถุงน้ำดี มะเร็งของลำไส้ได้ และยังทำให้เกิดการอักเสบในระดับเซลล์ เนื่องจากความสมดุลของโอเมก้า 3 : โอเมก้า 6 ไม่สมดุลกัน
- กรดไขมันอิ่มตัวจากสัตว์ ใช้มากไปมีผลทำให้คอเลสเตอรอลสูง
- กรดไขมันไฮโดจีเนตหรือทรานส์แฟตส์ ที่มีอยู่ในมาการีน เนยขาว เนยเทียม ครีมเทียม (ที่ผสมในกาแฟ ช็อคโกแลค) ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารปรุงแต่ง ทอดกรอบ เบเกอรี่ ฯลฯ มีผลทำให้คอเลสเตอรอล LDL ไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น และทำให้ HDL ต่ำลง ผลทำให้เกิดการอักเสบในหลอดเลือดแดงโดยตรง
อาหารที่ส่งเสริมหลอดเลือดมีสุขภาพดี
กรดไขมันโอเมก้า 3 มีมากในน้ำมันปลา น้ำมันงาขี้ม้อน ช่วยให้ผนังหลอดเลือดอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่นไม่แข็งและตีบ ซึ่งทำงานตรงกันข้ามกับโอเมก้า 6 ที่ทำให้เกิดการอักเสบ
เพิ่ม HLD ไขมันตัวดี ซึ่งองค์การอนามัยโลก ถือเป็นเรื่องสำคัญเพราะ HDL เปรียบเหมือนสารต้านอนุมูลอิสระในหลอดเลือด (ดูรายละเอียดในเรื่อง HDL เป็นไขมันที่ดี)
วิตามินซี มีผลต่อการสังเคราะห์คอลลาเจนในร่างกาย ทำให้คอลลาเจนมีคุณภาพดี แข็งแรง สานใยถักทอโครงสร้างหลอดเลือดให้แน่นหนา ทนต่อการอักเสบ วิตามินซีร่างกายมนุษย์ไม่สามารถผลิตขึ้นเองได้ (สัตว์ทำได้) ต้องหาเข้ามาจากอาหารเท่านั้น
แต่น่าเสียดายอาหารในปัจจุบันทำให้เราขาดวิตามินซีอย่างรุนแรง และที่กำหนดมาตรฐานของวิตามินซีที่ได้รับต่อวัน ก็ดูจะไม่เพียงพอต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน เพราะมลภาวะจากอาหาร น้ำ อากาศที่เราได้รับมากขึ้นทุกวัน สิ่งแวดล้อมเป็นพิษเหล่านี้ ต้องการวิตามินซีอย่างมากเป็นตัวกำจัดออกไป การที่มีวิตามินซีไม่เพียงพอ นอกจากจะกำจัดสารพิษไม่ได้แล้ว ยังทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานหนัก และทำให้คอลลาเจนในร่างกายอ่อนแอลง มีผลอนุมูลอิสระไปทำร้ายเยื่อบุผนังหลอดเลือดได้เต็มที่
อาหารที่เพิ่มวิตามินซีได้ดีที่สุดในโลก คือมะขามป้อม ๆ มีวิตามินซีมากว่าน้ำส้มคั้น 20 เท่า มากกว่าแอปเปิ้ล 60 เท่า เพียงทานให้ได้วันละ 3-5 ผล ก็พอเพียงต่อร่างกายในแต่ละวัน และวิตามินซีในมะขามป้อมยังมีความคงทนต่ออากาศ แสงและความร้อนไม่สูญสลายไปง่ายๆ เหมือนกับวิตามินซีทั่วไป แต่เราไม่ใช่จะกินแต่มะขามป้อม ผลไม้สดอื่นๆ ก็มีคุณค่าที่ดีควรรับประทานด้วย
เพิ่มวิตามินบี 6 บี12 และกรดโฟลิค (บี9) ในอาหารจะช่วยลดโฮโมซีสเตอีน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่เกิดจาการย่อยแตกตัวของ กรดอะมิโนเมไธโอนีน ๆ มีมากในเนื้อสัตว์ ไข่ และนม โฮโมซีสเตอีนที่สูงจะเป็นสาเหตุทำให้ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งได้ การใช้วิตามิน บี6,9,12 จะช่วยลดโฮโมซีสเตอีนได้
- วิตามินบี 6 มีมากในข้าวกล้อง บริวเวอร์ยีสต์ ธัญพืช เห็ด กล้วย แคนตาลูป ฯลฯ
- วิตามินบี 9 (โฟลิค) มีมากในผักสดสีเขียวจัด หน่อไม้ฝรั่ง บริวเวอร์ยีสต์ ผลไม้สด ฯลฯ
- วิตามินบี 3 มีมากในเนื้อปลา เนื้อสัตว์ ถั่วหมัก โยเกิร์ต ฯลฯ
ร่างการเราต้องการกรดอะมิโนเมไธโอนีนเพื่อการดำรงชีวิต ทั้งซิสเตอีนและเมโธไฮนีนเป็นอาหารที่ไม่มีอันตราย เพียงเราต้องเพิ่มวิตามินบี 6 บี9 บี12 ให้เพียงพอเพื่อสร้างเอนไซม์ไปกระตุ้นการแตกตัวของโฮโมซีสเตอีนให้เป็นซีสเตอินหรือไปสร้างเมไธโอนีนกลับมา หรือเราอาจลดอาหารเนื้อ นม ไข่ และเพิ่มผักสด ผลไม้เข้าไป ในมื้ออาหารมากขึ้น ก็ช่วยได้
เพิ่มโปแตสเซียม มีมากในผักสด ผลไม้ ช่วยให้เลือดมีภาวะความด่าง และช่วยกระตุ้นปฏิกิริยาเอนไซม์ได้ดี (ดูในรายละเอียดระบบเลือดเป็นหลักของภูมิต้านทาน) ในผัก ผลไม้ ยังมีสารเคมีชนิดหนึ่งเรียกว่าไนตริกออกไซด์ มีอยู่มากในผลไม้ประเภท แตง ฟัก ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว และนำส่งออกซิเจนไปสู่เซลล์ได้ดี
ฉะนั้นโรคหลอดเลือดแดงแข็งเป็นเรื่องที่เราต้องให้ความสำคัญมากๆ เพราะมีผลกระทบโดยตรงต่อหลอดเลือดทั้งหมดในร่างกาย เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ มากมายเช่น โรคหัวใจ โรคความดันเลือดสูง โรคอัมพฤกษ์-อัมพาต เป็นต้น การแก้ปัญหาให้ถูกจุดคือต้นเหตุ ที่จะบำรุงหลอดเลือดทั้งหมดในร่างกายให้สมดุล โดยใช้กรดไขมันที่ถูกต้อง สารอาหารต่างๆ ปรับให้ร่างกายดีขึ้น มากกว่าการแก้ไขปัญหาปลายเหตุอย่างที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เช่น ใช้ยาลดไขมัน ยาขยายหลอดเลือด ยาละลายลิ่มเลือด เพราะยาแต่ละชนิดก็มีผลกระทบต่อร่างกาย ตกค้างและที่สำคัญท่านต้องใช้ยานั้นไปเรื่อยๆ ตลอดชีวิต ซ้ำต้องเพิ่มปริมาณยาหรือได้รับยาตัวอื่นเพิ่มจากโรคชนิดใหม่ที่เกิดจากการใช้ยามาเป็นระยะเวลานาน อย่างเช่นยาลดไขมัน จะทำให้ร่างกายขาดโคเอนไซม์คิวเทน ซึ่งมีผลต่อระบบกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อหัวใจ การใช้ยาแอสไพริน ช่วยละลายลิ่มเลือด แต่มีผลทำให้เลือดออกในกระเพาะอาหาร และยังไปไล่วิตามินซี ออกจากร่างกายถึง 3 เท่า หากเราเป็นโรคหนัก การใช้ยาในการรักษาเบื้องต้นเป็นสิ่งจำเป็น หรือเราอาจใช้วิธีผสมผสานก็จะดี แต่วิธีที่ดีที่สุดคือการแก้ที่ต้นเหตุใช้อาหารเป็นยา