ออยล์พูลลิ่ง เป็นศาสตร์อายุรเวชของอินเดียที่มีมาเป็นเวลาพันๆปีแล้ว โดยการอมน้ำมันไว้และเคลื่อนน้ำมันไปให้ทั่วช่องปาก ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที จากนั้นจึงบ้วนทิ้งไป ออยล์พูลลิ่งเป็นที่ฮือฮาเมื่อ Dr. F. Karach, M.D., ได้เสนอรายงานต่อที่ประชุมสัมนาบัณฑิตย์ทางด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศรัสเซียเมื่อปี 2534-2535 การประชุมมีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องมะเร็ง และแบคทีเรียซึ่ง Dr.Karach ได้อธิบายถึงการบำบัดรักษาโรคที่ยอดเยี่ยมไม่เหมือนใคร ด้วยวิธีง่ายๆ โดยใช้การอมน้ำมัน
ผลลัพธ์ของการบำบัดด้วยวิธีนี้ ทำให้ผู้คนตะลึง ประหลาดใจ เต็มไปด้วยความสงสัยในรายงานของเขาเป็นอันมาก อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ได้มีการอธิบาย ซักถามกันถึงการรักษา มีการทดสอบ ทดลองใช้ ทดลองทำ พิสูจน์หาความสมเหตุสมผลที่เกิดขึ้น ต่างก็ยิ่งประหลาดใจถึงผลที่ได้รับจากการรักษาอย่างสมบูรณ์ อีกทั้งยังไม่มีอันตรายใดๆด้วย เป็นการรักษาทางด้านชีววิทยาโดยแท้ ด้วยวิธีการง่ายๆ ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยรักษาโรคได้มากมายหลายชนิด
Dr. Bruce Fife N.D. นักโภชนาการผู้มีชื่อเสียง ซึ่งเขียนหนังสือไว้หลายเล่มรวมทั้ง Coconut Oil Miracle ได้ทดลองทำออยล์พูลลิ่งด้วยตนเอง ผลลัพธ์ที่ได้ Dr. Fife ถึงกับออกปากว่า ออยล์พูลลิ่งเป็นการรักษาของแพทย์ทางเลือกที่มีประสิทธิภาพที่สุด แต่สิ่งที่ Dr. Fife สงสัยคือ เหตุใดการอมน้ำมันจึงช่วยรักษาโรคได้ เขาเริ่มศึกษาการทำออยล์พูลลิ่งของ Dr. Karach อย่างจริงจังรวมทั้งศึกษารายงานอีกเป็นร้อยๆชิ้น ในที่สุดก็ได้ข้อสรุปที่เป็นคำตอบทางวิทยาศาสตร์ซึ่ง Dr. Fife เขียนไว้ในหนังสือชื่อ Oil Pulling Therapy มีใจความบางตอนดังนี้
- ในปากของคนเราเต็มไปด้วยแบคทีเรีย
ในปากของเราเต็มไปด้วยแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และโปรโตซัว แต่ส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรีย เพราะปากเป็นแหล่งอาศัยที่เหมาะสม มีความร้อน ความชื้น และอุณหภูมิคงที่ ยังมีอาหารอุดมสมบูรณ์จากเศษอาหารที่เรารับประทาน กล่าวกันว่าปริมาณแบคทีเรียในปากของคนคนหนึ่ง มีมากกว่าจำนวนประชาการของคนทั้งโลก แบคทีเรียบางชนิดอาศัยอยู่บนผิวฟัน อยู่ในช่องว่างระหว่างฟันและเหงือก อยู่ที่เพดานปาก และอยู่ที่ใต้ลิ้นและโคนลิ้น การแปรงฟันและการใช้น้ำยาบ้วนปากช่วยลดปริมาณแบคทีเรียเหล่านี้ลงได้แค่เพียงชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งไม่นานก็จะกลับมาแพร่พันธุ์เพิ่มจำนวนขึ้นเช่นเดิม
- โรคร้ายทุกชนิดเริ่มต้นที่ปาก
เนื่องจากปากเป็นประตูเข้าสู่ร่างกาย การรับประทานอาหารไม่ถูกต้องหรืออาหารที่มีพิษ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ยิ่งกว่านั้นในปากและลำใส้ยังเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียนับพันล้านตัว บางชนิดเป็นอันตราย บางชนิดเป็นประโยชน์ ถ้าแบคทีเรียเหล่านี้สามารถเข้าสู่กระแสเลือด แม้แต่แบคทีเรียชนิดที่ไม่เป็นอันตรายก็สามารถทำให้เราถึงแก่ความตายได้ หากในปากของเรามีแผล หรือมีการอักเสบของเหงือกหรือเนื้อเยื่อ จะทำให้แบคทีเรียสามารถเข้าสู่กระแสเลือดได้โดยง่าย เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลายชนิดตั้งแต่โรคไขข้ออักเสบไปจนถึงโรคหัวใจ
- ออยล์พูลลิ่งทำงานอย่างไร? สำหรับหลายๆคนมีความรู้สึกว่า แค่การอมและเคลื่อนน้ำมันไปทั่วๆปาก ไม่น่าจะช่วยรักษาโรคได้ อันที่จริงออยล์พูลลิ่งไม่ได้รักษาโรค แต่มันช่วยขจัดแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคหรือเป็นตัวการปล่อยสารพิษให้หมดไป เพื่อให้ร่างกายมีโอกาสได้ฟื้นฟู
ออยล์พูลลิ่งเป็นกระบวนการทางชีววิทยาล้วนๆ แบคทีเรียในช่องปากที่ก่อให้เกิดโรคร้ายหรือปล่อยสารพิษแก่ร่างกายนั้น แต่ละเซลล์ของมันจะปกคลุมด้วยน้ำมันหรือเนื้อเยื่อที่เป็นไขมันซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของผิวเซลล์ (เซลล์ของคนเราก็ล้อมรอบด้วยส่วนผสมของไขมันเช่นเดียวกัน) เมื่อคุณเทน้ำมันลงในน้ำ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้ำกับน้ำมันจะแยกกันอยู่ไม่ยอมผสมรวมกัน แต่ถ้าคุณเทน้ำมันทั้งสองชนิดรวมเข้าด้วยกัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้ำมันทั้งสองจะผสมรวมและดึงดูดซึ่งกันและกัน
นี่คือความลับของออยล์พูลลิ่ง
เมื่อคุณใส่น้ำมันลงในปาก เนื้อเยื่อที่เป็นน้ำมันหรือไขมันของแบคทีเรียจะถูกน้ำมันดูดไว้ ขณะคุณเคลื่อนน้ำมันไปทั่วช่องปาก แบคทีเรียที่ซ่อนอยู่ภายใต้รอยแยกของเหงือกและฟันหรือตามซอกของฟัน จะถูกดูดออกจากที่ซ่อนและติดแน่นอยูในส่วนผสมของน้ำมัน ยิ่งนานยิ่งมาก หลังจากผ่านไป 20 นาที ส่วนผสมของน้ำมันจะเต็มไปด้วยแบคทีเรีย ไวรัส ฯลฯ คุณจึงควรบ้วนทิ้งไปมากกว่าที่จะกลืนมัน
เศษอาหาร สิ่งที่ไม่ใช่น้ำมัน (water based) จะถูกดูดออกด้วยน้ำลาย น้ำลายยังช่วยลดกรดที่เกิดจากแบคทีเรีย
เมื่อแบคทีเรียรวมทั้งพิษร้ายที่เกิดจากแบคทีเรียถูกดูดออกไป จึงเป็นโอกาสดีที่ร่างกายได้ทำการฟื้นฟู การอักเสบทั้งหลายหมดไป กระแสเลือดเป็นปกติ เนื้อเยื่อที่เสียหายได้รับการซ่อมแซม การมีสุขภาพดีจึงกลับมาในที่สุด
- น้ำมันชนิดใดเหมาะจะใช้ทำออยล์พูลลิ่ง?
Dr. Fife กล่าวว่า น้ำมันชนิดใดก็สามารถใช้ทำออยล์พูลลิ่งได้ แต่โดยส่วนตัวแล้วชอบน้ำมันมะพร้าว เนื่องจากต้องการใช้น้ำมันที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ มากกว่าน้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันงา หรือน้ำมันพืชชนิดใดๆ (กรดลอริคในน้ำมันมะพร้าวเมื่อถูกกับเอนไซม์ในน้ำลายจะแตกตัวเป็นโมโนกลีเซอไรด์ชื่อว่า โมโนลอริน ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรค) เหตุผลอีกประการหนึ่ง ชอบที่น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์บีบเย็นที่ได้รับการผลิตอย่างมีคุณภาพจะ มีความสะอาดถูกอนามัย แถมยังมีกลิ่นและรสชาติน่าพอใจอีกด้วย
- วิธีการทำออยล์พูลลิ่ง
*ทำขณะที่ท้องว่าง จะดื่มน้ำก่อนหรือไม่ก็ได้
*ใช้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์บีบเย็นประมาณ 2-3 ช้อนชา อมไว้ในปาก
*ค่อยๆ ดูด ดัน และดึง ให้น้ำมันไหลผ่านฟันและเหงือก (กลิ้ง กลอก กลั้ว)
*น้ำมันจะเปลี่ยนเป็นขุ่นหรือมีสีเหลือง
*เคลื่อนน้ำมันไปทั่วๆปากอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 10-20 นาที
*จากนั้นให้บ้วนน้ำมันทิ้งไป
*บ้วนปากด้วยน้ำสะอาด ตามด้วยการดื่มน้ำ
ทำอย่างนี้วันละครั้งเป็นอย่างน้อย หรือ ตื่นนอนตอนเช้า – ก่อนเข้านอน
- โรคที่ได้รับรายงานว่าตอบสนองต่อการทำออยล์พูลลิ่ง
ที่เห็นได้ชัดเจนคือ สุขภาพในช่องปากดีขึ้น ฟันขาวขึ้น แน่นขึ้นไม่โยกคลอน เหงือกเป็นสีชมพูแลดูมีสุขภาพ ลมหายใจสดชื่น นอกจากนี้เยียวยาความเจ็บไข้หรืออาการป่วยเรื้อรังได้อีกหลายชนิด ต่อไปเป็นชื่อของโรคหรืออาการเจ็บป่วยที่มีผู้รายงานเข้ามาว่ามีการตอบสนองที่ดีกับออยล์พูลลิ่ง: สิว ภูมิแพ้ รังแค ไซนัส ปวดหัวไมเกรน น้ำมูกมาก หืด หลอดลมอักเสบ ผิวหนังอักเสบ เรื้อนกวาง ปวดหลังปวดคอ ข้ออักเสบ กลิ่นปาก ฟันผุ ฟันเป็นหนอง เลือดออกตามไรฟัน โรคเหงือก ท้องผูก แผลในกระเพาะ ลำไส้ ลำไส้อักเสบ ริดสีดวงทวาร นอนไม่หลับ อ่อนเพลียเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือน
ส่วนอาการหรือโรคที่การศึกษาทางการแพทย์พบว่าเกี่ยวข้องกับสุขภาพในช่องปากโดยตรงและอาจมีผลตอบสนองกับการทำออยล์พูลลิ่งได้แก่ ปัสสาวะเป็นกรด ปอดอักเสบ(ARDS) ถุงลมโป่งพอง การอุดตันของเส้นเลือดและเส้นเลือดในสมอง ผลเลือดผิดปกติ ฝีในสมอง มะเร็ง เกาท์ ถุงน้ำดี หัวใจ น้ำตาลในเลือดสูง แท้งบุตร ไต ตับ ความผิดปกติของระบบประสาท กระดูกพรุน ปอดบวม ทารกคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อย แพ้สารพิษ และโรคติดเชื้ออื่นๆอีกหลายชนิด
- ช่วงเวลาที่เหมาะจะทำออยล์พูลลิ่ง
ปริมาณแบคทีเรียมีมากสุดในตอนเช้าก่อนรับประทานอาหาร การแปรงฟันช่วยลดปริมาณแบคทีเรียได้ไม่มากเนื่องจากฟันมีพื้นที่แค่ 10% ของช่องปาก ก่อนอาหารกลางวันปริมาณแบคทีเรียจะเพิ่มสูงขึ้นเกือบเท่าตอนก่อนอาหารเช้า และลดลงมากที่สุดภายหลังรับประทานอาหารเย็น เมื่อคุณหลับแบคทีเรียมีโอกาสกลับมาเพิ่มจำนวนขึ้นใหม่โดยไม่มีสิ่งใดมารบกวน การทำออยล์พูลลิ่งจึงควรทำเป็นสิ่งแรกในตอนเช้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่แบคทีเรียในช่องปากมีปริมาณมากที่สุด.
ตารางเปรียบเทียบการลดลงของคราบหินปูนและการอักเสบของเหงือกจากการรักษาด้วยวิธีต่างๆ
วิธีรักษา
|
คราบหินปูน
|
เหงือกอักเสบ
|
การแปรงฟัน
|
11-27%
|
8-23%
|
ใช้น้ำยาบ้วนปาก
|
20-26%
|
13%
|
ออยล์พูลลิ่ง
|
18-30%
|
52-60%
|
ข้อเท็จจริงที่ควรรู้
-โรคเหงือกมีความสำคัญเพราะสามารถส่งผลกระทบได้ทั่วทุกส่วนของร่างกาย
-ผู้ที่เป็นโรคเหงือกอักเสบมีโอกาสตายจากโรคหัวใจมากกว่าคนที่ไม่เป็นถึง 2 เท่า
-มีโอกาสตายจากโรคเส้นเลือดในสมองอุดตันได้มากกว่าถึง 3 เท่า
-ในหญิงมีครรภ์ โอกาสที่ทารกจะคลอดก่อนกำหนดมีมากกว่าถึง 4 เท่า
-และมีโอกาสเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ (โรคปอดเรื้อรัง) ได้มากกว่าถึง 1.5 เท่า
-ผู้ที่เป็นโรคเหงือกอักเสบรุนแรงแม้จะมีคอเลสเตอรอลต่ำ มีโอกาสตายได้มากกว่าผู้มีการอักเสบไม่รุนแรงที่มีคอเลสเตอรอลสูง งานวิจัย บางชนิดถึงกับชี้ว่าการมีฟันผุ โรคเหงือก และการสูญเสียฟัน เป็นตัวชี้ถึงปัญหาของการเป็นโรคหัวใจได้มากกว่าการมีคอลเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์สูงเสียอีก
-การตรวจเลือดหา CPR สามารถบอกถึงระดับของความอักเสบ
-การอักเสบเป็นกระบวนการป้องกันตนเองของร่างกาย แต่ถ้าหากเกินความควบคุมจะนำไปสู่การเป็นโรคหัวใจ
มะเร็งลำไส้ อัลไซเมอร์ และโรคอื่นๆ แบคทีเรียเรียกว่า 200-300 ชนิดที่อาศัยอยู่ที่พลั๊กจะทำลายสมดุลของสภาวะ
แวดล้อมซึ่งจะกระจายไปได้ทั่วร่างกาย
สิ่งที่ควรกระทำ
-พบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อขูดหินปูนและตรวจสอบสุขอนามัยในช่องปาก
-เมื่ออยู่ที่บ้านทำความสะอาดช่องปากเป็นประจำนอกเหนือจากการแปรงฟันด้วยการบ้วนปากด้วยสมุนไพรหรือ
อมน้ำมัน (ออยล์พูลลิ่ง)
-เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม ลดของหวาน กาแฟ น้ำอัดลม แอลกอฮอล์ เพิ่มอาหารจำพวกออร์แกนิคเช่น
โยเกิร์ต (ไม่ใส่น้ำตาล) น้ำมะนาว ผักสดหรือผักที่ปรุงด้วยอุณหภูมิต่ำ
-อาหารเสริมด้วยวิตามิน แร่ธาตุ สานแอนตีออกซิแดนท์โดยเฉพาะ coQ10 (100 มก./วัน) หรืออย่างอื่นเช่น
กลูตาไทโอน,โปรไบโอติคและเอนไซม์ช่วยย่อย ฯลฯ
ภัยของน้ำยาบ้วนปาก
แพทย์โรงพยาบาลราชวิถี เตือนคนไทยถึง "น้ำยาบ้วนปาก" หากใช้มากๆนานๆ ทำตุ่มรับรสเพี้ยน เกิดเชื้อราช่องปาก สีฟันเปลี่ยน หินปูนเกิดง่าย ส่วนยาสีฟันที่อ้างลดแบคทีเรียนั้น มีประสิทธิภาพเท่ากับแปรงฟันอย่างถูกวิธี ส่วนคนไทย 9 ล้านคนมีกลิ่นปาก และแนะวิธีเช็กกลิ่นปาก
ท.ญ.นพมณี วงษ์กิตติไกรวัล ทันตแพทย์กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวว่า ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าการใช้น้ำยาบ้วนปากมีไว้เพื่อกำจัดกลิ่นปาก แต่ที่จริงแล้ว เป็นเพียงการกลบกลิ่นปากด้วยกลิ่นของน้ำยาใน ระยะสั้นเท่านั้น จากนั้นไม่นานก็กลับมามีกลิ่น ปากเช่นเดิม
การใช้น้ำยาบ้วนปากติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้ไปทำลาย เชื้อแบคทีเรียที่ดีที่อาศัยอยู่ในปากให้ตายไปด้วย อาจนำมาซึ่งเชื้อราในช่องปาก ทำให้ตุ่มรับรสของลิ้นเพี้ยนไป มีสีเคลือบผิวฟันที่เปลี่ยนแปลง หรือทำให้เกิดหินปูนได้ง่าย
ส่วนยาสีฟันที่อ้างว่าว่าสามารถลดแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของกลิ่นปากได้นั้น ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันชัดเจนว่า ยาสีฟันจะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อในปากได้ ซึ่งประสิทธิภาพของยาสี ฟันที่อ้างว่าลดแบคทีเรีย ไม่แตกต่างกับการแปรงฟันด้วยยาสี ฟันอะไรก็ได้อย่างถูกวิธีและใช้ไหมขัดฟันในซอกฟันส่วนที่แปรงไปไม่ถึง
กลิ่นปากเกิดจากเชื้อแบคทีเรียในช่องปากชนิดที่ไม่ใช้ออกซิ เจน ผลิตก๊าซในกลุ่มซัลเฟอร์ กลิ่นปากยังเกิดได้จากผู้ป่วยมีโรคอื่นๆ อยู่ก่อนแล้ว เช่น โรคกรดไหลย้อน หากรักษาโรคเหล่านั้นกลิ่นปากก็จะหายไป รวมทั้งกลิ่นปากจากโรคในช่องปาก เช่น โรคปริทนต์ โรคเหงือก ฟันผุ ฯลฯ
วิธีการตรวจว่ามีกลิ่นปากจริงหรือไม่นั้น ทำได้โดยการสังเกต จากคนรอบข้าง หรือเอาช้อนมาขูดลิ้นแล้วทิ้งไว้ 5 วินาที จากนั้นนำมาดม หากพบว่ามีกลิ่นเหม็นก็แนะนำให้มาพบทันต แพทย์เพื่อตรวจเช็กปัญหาในช่องปาก
* ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ยาบ้วนปากก่อมะเร็ง คอเหล้าคอยายิ่งหวาดเสียวขนาดหนัก
นักวิทยาศาสตร์ออสเตรเลีย โวยยาบ้วนปาก ทำให้คอเหล้าที่ใช้เสี่ยงกับการเป็นมะเร็งในปากสูงกว่าปกติถึง 9 เท่าแนะควรใช้ภายหลังแปรงฟันหรือขัดฟันด้วยไหมใหม่ ด้วยเวลาสั้นๆ...
ผู้ที่มีอาการติดเชื้อหรือการอักเสบในปากหรือฟัน มักจะได้รับการแนะนำให้ใช้ยาอมบ้วนปาก แต่นักวิทยาศาสตร์เมืองจิงโจ้ คัดค้านโวยวายขึ้นว่า ยาซึ่งล้วนเข้าแอลกอฮอล์เหล่านี้ มันจะทำให้เสี่ยงกับการเป็นมะเร็งในปากสูงกว่าปกติถึง 9 เท่า
คณะนักวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นนักวิจัยของมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์และเมลเบิร์นของออสเตรเลีย กล่าวว่า แม้ว่ายาอมบ้วนปากจะเป็นที่นิยม ในการควบคุมคราบจุลินทรีย์จับฟันและเหงือกอักเสบ แต่ก็ควรใช้ภายหลังการแปรงฟันหรือขัดฟันด้วยไหมใหม่ๆ และใช้เป็นเวลาแค่สั้นๆ เท่านั้น
พวกเขาได้บอกเตือนผู้ที่เป็นคอยาว่า หากว่ามาใช้ยาอมบ้วนปาก จะล่อแหลมกับการเป็นมะเร็งปากมากที่สุดถึง 9 เท่า และแม้แต่คอสุราก็เช่นกัน ก็จะเสี่ยงเป็นได้ง่าย มากกว่าปกติถึง 5 เท่า ถึงแม้แต่ผู้ที่ไม่ใช่นักดื่มเลย ก็ยังเสี่ยงด้วยเช่นกัน แต่ไม่สูงถึง 5 เท่า
ไม่แต่เท่านั้น ยาอมบ้วนปากส่วนใหญ่ล้วนผสมแอลกอฮอล์อยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ 20 ยังมีอันตรายอย่างอื่นอีกด้วย เช่น ทำให้เหงือกอักเสบ เกิดผื่นจุดเลือด และเยื่อบุเซลล์ของปากลอก